เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ค่าน้ำนม

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินค้าคงเหลือ

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินค้าคงเหลือ หน้า ๔๗

เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี

ฉบับที่ ๖๒/๒๕๕๐

เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๙ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) ฉบับที่ ๓๑ (ปรับปรุง ๒๕๕๐)

ฉบับที่ ๔๓ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) และ ฉบับที่ ๕๑



อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ (๓) และ มาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี และกฎหมายอื่น ทั้งนี้  มาตรฐานการบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้   สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบในการกำหนดมาตรฐานการบัญชีของคณะกรรมการ  กำกับดูแลการประกอบวิชาชีพในการประชุม ครั้งที่ ๘ (๓/๒๕๕๐) เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน  ๒๕๕๐ จึงออกประกาศ ดังนี้

๑. ให้ยกเลิกมาตรฐานการบัญชี ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) เรื่อง มาตรฐานการบัญชี รวม ๕ ฉบับ และการตีความตามมาตรฐานการบัญชีที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน ๑ ลำดับ ดังนี้

๑.๑ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๗ เรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับการเช่าซื้อ - ทางด้านผู้ให้เช่าซื้อ
๑.๒ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๑๔ เรื่อง การบัญชีสำหรับการวิจัยและพัฒนา
๑.๓ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๙ เรื่อง การบัญชีสำหรับสัญญาเช่าระยะยาว
๑.๔ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๑ เรื่อง สินค้าคงเหลือ
๑.๕ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๓ เรื่อง การรวมธุรกิจ
๑.๖ การตีความตามมาตรฐานการบัญชีที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน ลำดับที่ ๔ เรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์ - รายจ่ายที่กิจการในขั้นพัฒนาและกิจการที่พัฒนาแล้วบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์

๒. ให้ใช้มาตรฐานการบัญชีตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้แทน

๒.๑ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๙ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง สัญญาเช่า
๒.๒ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๑ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง สินค้าคงเหลือ
๒.๓ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๓ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง การรวมธุรกิจ
หน้า ๔๘  เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
๒.๔ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๕๑ เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

ประกาศ ณ วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
เกษรี ณรงค์เดช
นายกสภาวิชาชีพบัญชี

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550)

เรื่อง  สินค้าคงเหลือ

คำแถลงการณ์

มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดย มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ เรื่อง สินค้าคงเหลือ พ.ศ. 2549 (IAS No. 2 Inventories (2006))

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินค้าคงเหลือ

ขอบเขต

1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ถือปฏิบัติกับสินค้าคงเหลือทุกประเภทยกเว้น

1.1 งานระหว่างก่อสร้างภายใต้สัญญาก่อสร้างซึ่งรวมถึงสัญญาการให้บริการที่เกี่ยวข้องโดยตรง
(ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 49 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สัญญาก่อสร้าง)
1.2 เครื่องมือทางการเงิน
1.3 สินทรัพย์ชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเกษตรและผลิตผลทางการเกษตร
ณ จุดเก็บเกี่ยว (ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 57 เรื่อง เกษตรกรรม (เมื่อมีการประกาศใช้))

2. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ถือปฏิบัติกับการวัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือที่ถือไว้โดย

2.1 ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากป่า ผลิตผลทางการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยว แร่ และผลิตภัณฑ์จากแร่ เนื่องจากสินค้าคงเหลือเหล่านั้น วัดมูลค่าด้วยมูลค่าสุทธิที่จะได้รับซึ่งเป็นวิธีที่ถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมเหล่านั้น เมื่อกิจการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ ดังกล่าวด้วยมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าดังกล่าวจะรับรู้ในกำไรหรือขาดทุน ในงวดที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่านั้น
2.2 นายหน้า-ผู้ค้าผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือด้วยมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย เมื่อสินค้าคงเหลือดังกล่าววัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายโดยการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายจะรับรู้ในกำไรหรือขาดทุนในงวดที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่านั้น

คำนิยาม

3. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะดังนี้
สินค้าคงเหลือ หมายถึง สินทรัพย์ซึ่ง มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

1. ถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ
2. อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย
3. อยู่ในรูปของวัตถุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือให้บริการมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ หมายถึง ราคาโดยประมาณที่คาดว่าจะขายได้ตามปกติของธุรกิจ หักด้วยประมาณการต้นทุนในการผลิตสินค้านั้นให้เสร็จและต้นทุนที่จำเป็นต้องจ่ายไปเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ หรือจ่ายชำระหนี้สินในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ไม่มีความเกี่ยวข้องกันการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ
4. สินค้าคงเหลือต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่าต้นทุนของสินค้าคงเหลือ
5. ต้นทุนของสินค้าคงเหลือต้องประกอบด้วยต้นทุนทั้งหมดในการซื้อ ต้นทุนแปลงสภาพ และต้นทุนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้สินค้าคงเหลือนั้นอยู่ในสถานที่และอยู่ในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การคำนวณต้นทุน
6. ต้นทุนสินค้าคงเหลือของแต่ละรายการ ซึ่งตามปกติไม่อาจสับเปลี่ยนกันได้ หรือเป็นสินค้าหรือ
บริการที่ผลิตขึ้นและแยกต่างหากไว้สำหรับโครงการหนึ่งโครงการใดโดยเฉพาะจะคำนวณโดยใช้วิธีราคาเจาะจง
7. ต้นทุนสินค้าคงเหลือนอกจากที่กล่าวในย่อหน้า 6 ต้องคำนวณมูลค่าโดยวิธีเข้าก่อนออกก่อน
หรือวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก กิจการต้องใช้วิธีการคำนวณมูลค่าด้วยวิธีเดียวกันสำหรับสินค้าคงเหลือทุกชนิดที่มีลักษณะและการใช้คล้ายคลึงกัน สำหรับสินค้าคงเหลือที่มีลักษณะและการใช้ต่างกันอาจใช้วิธีที่ต่างกันไปได้หากเหมาะสมการรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย
8. เมื่อมีการขายสินค้าคงเหลือออกไป มูลค่าตามบัญชีของสินค้านั้นต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวด
ที่มีการรับรู้รายได้ที่เกี่ยวข้อง มูลค่าที่ลดลงของสินค้าคงเหลือเนื่องจากการปรับมูลค่าให้เท่ากับ
มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ รวมทั้งผลขาดทุนทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้าคงเหลือต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
ในงวดที่ปรับมูลค่าสินค้าให้ลดลงหรือมีผลขาดทุนเกิดขึ้น จำนวนที่เกิดจากการกลับรายการ
ปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ให้รับรู้โดยนำไปหัก
จากมูลค่าของสินค้าคงเหลือที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่มีการกลับรายการดังกล่าวการเปิดเผยข้อมูล
9. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้ในงบการเงิน
9.1 นโยบายการบัญชีที่ใช้ในการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ และวิธีที่ใช้คำนวณราคาทุน
9.2 มูลค่าตามบัญชีรวมของสินค้าคงเหลือและมูลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือแต่ละประเภทจำแนกตามความเหมาะสมของแต่ละกิจการ
9.3 มูลค่าตามบัญชีรวมของสินค้าคงเหลือที่แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย
9.4 มูลค่าของสินค้าคงเหลือที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น
9.5 มูลค่าของสินค้าคงเหลือที่ปรับลดลงและรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น ตามข้อกำหนดในย่อหน้าที่ 8
9.6 มูลค่าการบันทึกกลับรายการในส่วนที่มีการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือ ซึ่งกิจการรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีตามข้อกำหนดในย่อหน้าที่ 8
9.7 เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ทำให้มีการกลับรายการการปรับลดมูลค่าสินค้าตามย่อหน้าที่ 8
9.8 มูลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือที่ใช้เป็นหลักประกันหนี้สินวันถือปฏิบัติ
10. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินค้าคงเหลือ นี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามกิจการสามารถนำมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาถือปฏิบัติก่อนวันถือปฏิบัติ หากกิจการนำมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาถือปฏิบัติก่อนวันถือปฏิบัติ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว